วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Welcome to my website

Welcome to my website














Post ข่าว IT : CTT : Com Teach Tech

Post ข่าว IT : CTT : Com Teach Tech



Mind Mapping

Mind Mapping



1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา






2.แนวคิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูในศตวรรษ 21





3.แนวคิดทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้




4.เทคโนโลยีและสารสนเทศ 




5.การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ




6.แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้





7.การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม


วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา

คำศักพท์ง่าย

1. Blogการบันทึกบทความของตนเองลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่างๆ ก็ได้


2. Century : ศตวรรษ

3. Computer : เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนได้ตามคำสั่งของโปรแกรม

4. Dataข้อมูล ข่าวสาร เอกสาร ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง อาจอยู่ในรูปแบบของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว

5. E-commerceการประกอบธุรกิจการค้าผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ต่างๆ



6. Informationข้อมูลที่นำมาประมวลผลแล้ว และเสนอออกมาในรูปแบบที่ผู้ใช้รู้หรือเข้าใจความหมาย

7. Innovationความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการ มาพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด






8. Inputข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อที่การประมวลผล

9. Intelligence : ความมีไหวพริบ

10. Inspire : แรงบันดาลใจ

11. Mediaวัสดุใดก็ตามที่ใช้เป็นที่บันทึกข้อมูลลงไปเก็บแล้ว คอมพิวเตอร์ใช้เป็นสื่อได้

12. New Idea : ความคิดใหม่ที่เป็นประโยชน์

13. Output ผลที่เกิดจากการประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์แสดงออกมา

14. People ware บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์

15. Processกระบวนการหรือการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ 

16. Resourceหมายถึงส่วนประกอบทั้งปวงของคอมพิวเตอร์เช่น หน่วยความจำ, เครื่องพิมพ์จอภาพ

17. Software ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับตามขั้นตอน

18. Solving : การแก้ปัญหา

19. Systemระบบหรือที่รวมส่วนประกอบต่างๆ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์

20. Technology : ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง 

21. Vision : วิสัยทัศน์





คำศัพท์ยาก

1. Authenticแท้จริงน่าเชื่อถือ

2. Child Centerการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

3. Creativity : ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่

4. Collaborative : การร่วมมือในการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จ

5. Educationตามอักษรย่อภาษาอังกฤษที่รวมกันเป็นคำว่า “EDUCATION” มีดังนี้

E : Enlightenment (การรู้แจ้ง) 
D : Duty and Devotion (การปฏิบัติหน้าที่และการเสียสละอุทิศตน) 
U : Understanding (ความเข้าใจถ่องแท้) 
C : Character (อุปนิสัยที่ดีงาม) 
A : Action (การนำความรู้ไปปฏิบัติ)
T : Thanking (การมีใจกตัญญูรู้คุณ) 
I : Integrity (ความมีเกียรติ) 
O : Oneness (ความมีใจสมาน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) 
N : Nobility (ความสง่างาม)


6. Entrepreneurship : บุคคลที่มีทักษะอันเป็นพรสวรรค์อย่างสูง เป็นผู้บุกเบิกและนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง

7. Hardwareอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์ เช่น เมาส์ , คีย์บอร์ด

8. Influenceการจูงใจ การโน้มน้าว, การชักจูง

9. Inquiryการสอบถามหาข้อมูลผ่านทางเครื่องปลายทาง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการให้

10. Integrate รวมตัวกัน, ประสานกัน

11. Interactiveการมีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น ครูกับผู้เรียนมี่ส่วนร่วมในการเรียนการสอน

12. Inventor : นักประดิษฐ์ , ผู้ประดิษฐ์

13. Internet Network System : ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต






14. Justification : การให้เหตุผลสนับสนุน

15. Learning by doing การเรียนรู้โดยเกิดจากการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง

16. Life Skills : ทักษะการใช้ชีวิต

17. Literacy : การศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานเพื่อให้รู้เรื่องราว องค์ประกอบ การใช้งาน และรู้วิธีที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงาน ต่างๆ ได้พอสมควร

18. Materials : วัสดุ , เครื่องมือ

19. Mental model buildingการสั่งสมประสบการณ์ใหม่ แล้วนำมาปรับปรุงวิเคราะห์สังเคราะห์ความเชื่อหรือค่านิยมเดิม เกิดเป็นกระบวนการวิสัยทัศน์ใหม่

20. Motivationสิ่งที่จูงใจเป็นสิ่งที่ทำให้คนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน

21. Multimediaการนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร  ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรืออนิเมชั่น  เสียง  และวิดีโอ

22. Multiple Intelligence พหุปัญญา หรือก็คือ ความรู้ความสามารถในหลากหลายด้านที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน

24. Operating System ระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์  ควบคุมและสั่งการให้ Hardware สามารถทำงานได้ 

25. Processingการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ  เป็นตัวควบคุม

26. Secondary Storageหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

27. Storageการเก็บข้อมูล หรือ ตัวบันทึกความจำในคอมพิวเตอร์






วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษา 21st century

การศึกษาในศตวรรษที่ 21




            ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ 

            ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษาต้องมีการพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือ เพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือเรียกย่อๆ ว่า เครือข่าย P21





             หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิด เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
  • 3R ได้แก่ การอ่าน (Reading) , การเขียน (Writing) , คณิตศาสตร์ (Arithmetic)
  • 4C ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) , การสื่อสาร (Communication) , การร่วมมือ (Collaboration) , ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ (Creativity)
ปัจจัยที่สำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่
          1. Authentic Learning หมายถึง การเรียนรู้จากสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่จริง ไม่ใช่จากหนังสือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากบริบทหรือสภาพแวดล้อมที่แท้จริง 
          2. Mental Model Building หมายถึง การเรียนรู้เชิงลึก ฝึกความคิดเชิงกระบวนทัศน์
          3. Internal Motivation หมายถึง การเรียนรู้ที่มีแรงผลักดันจากภายในตัวของผู้เรียน หากได้รับการสนับสนุนที่ถูกทาง ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้มากถึงมากที่สุด และเกิดการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงใหม่ๆ
          4. Multiple Intelligence หมายถึง ความฉลาดทางด้านพหุปัญญา ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะมีการเรียนรู้ การรับรู้ที่แตกต่างกันออกไป
          5. Social Learning หมายถึง การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กับสังคม ผู้เรียนจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกัน เกิดการรับพฤติกรรมของผู้อื่นและนำมาปรับใช้กับตนเอง

        ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ 
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย 
   - ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
   - ศิลปะ
   - คณิตศาสตร์
   - การปกครองและหน้าที่พลเมือง
   - เศรษฐศาสตร์
   - วิทยาศาสตร์
   - ภูมิศาสตร์
   - ประวัติศาสตร์


       โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้



ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
         ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
         ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
         ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
         ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
         ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
        ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
        การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
        การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
        ความรู้ด้านสารสนเทศ
        ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
        ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ นการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
        ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
        การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
        ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
        การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
        ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

การศึกษาในศตวรรษที่  21  ครูจะต้องปรับแนวทางการเรียนการสอน (pedagogy) โดยครูจะต้องทำให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีเป้าหมายในการสอนที่จะทำให้เด็กมีทักษะชีวิต  ทักษะการคิด  และทักษะด้านไอที ซึ่งไอทีในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหรือใช้ไอแพดเป็น แต่หมายถึงการที่เด็กรู้ว่า  เมื่อเขาอยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเขาจะไปตามหาข้อมูล (data) เหล่านั้นได้ที่ไหน และเมื่อได้ข้อมูลมาเด็กต้องวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (knowledge) ได้  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากการฝึกฝน ครูจะต้องให้เด็กได้มีโอกาสทดลองด้วยตนเอง



คุณลักษณะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ  3  ประการ
ประการแรก  คือ  มีทักษะที่หลากหลาย  เช่น  สามารถทำงานร่วมกับคนเยอะ  ๆ ได้อย่างรวดเร็ว  รับผิดชอบงานได้ด้วยตนเอง  และรู้จักพลิกแพลงกระบวนการแก้ไขปัญหาได้
ประการที่สอง  คือ มองโลกใบนี้เป็นโลกใบเล็ก ๆ ไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะประเทศไทย  เพื่่อมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย
ประการสุดท้าย  คือ  เด็กไทยยุคใหม่ต้องมีทักษะด้านภาษา เพราะหากพูดหรือใช้แต่ภาษาไทยก็เหมือนกับมี "กะลา"มาครอบไว้


การพัฒนาสมองห้าด้าน
1. สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind)  คือ เป็นคนมีระเบียบวินัยบังคับตัวเองให้เรียนรู้เพื่ออยู่ในพรมแดนความรู้
2. สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) คือ ความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมากลั่นกรองคัดเลือกเอามาเฉพาะส่วนที่สำคัญ
3. สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind) คือ คุณสมบัติสำคัญที่สุดของสมองสร้างสรรค์คือ คิดนอกกรอบ แต่คนเราจะคิดนอกกรอบเก่งได้ต้องเก่งความรู้ในกรอบเสียก่อน ศัตรูสำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์ คือ การเรียนแบบท่องจำ
4. สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) คุณสมบัติด้านเคารพให้เกียรติผู้อื่นมีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คนเคลื่อนไหวเดินทางและสื่อสารได้ง่าย
5. สมองด้านจริยธรรม (ethical mind) ทักษะเชิงนามธรรม เรียนรู้ซึมซับได้โดยการชวนกันสมมติและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันว่าตัวเองเป็นอย่างไรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง




วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

     ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้รวดเร็ว มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยผ่านสายสื่อสาร ซึ่งเราเรียกว่า การเชื่อมต่อแบบเครือข่าย (Network) ถ้าเชื่อมต่อใกล้ๆ ในพื้นที่เดียวกัน เรียกว่า LAN (Local Area Network) ถ้าการเชื่อมต่อเครือข่ายทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN เรียกว่า MAN (Metropolitan Area Network) ถ้าเชื่อมต่อทางไกล เช่น เชื่อมต่อข้ามประเทศ เรียกว่า WAN (Wide Area Network)



องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มี 5 ส่วน ดังนี้
1. ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
    1.1 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) หรือ โฮสต์ (Host)
    1.2 คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client)
2. ตัวกลางและอุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Device) เป็นช่องทางสำหรับการรับ-ส่งข้อมูล ประกอบด้วย
     2.1 โมเด็ม (Modem)
     2.2 สายโทรศัพท์ (Telephone)
     2.3 สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber)
     2.4 คลื่นวิทยุและดาวเทียม (Microware and Satellite)
3. มาตรฐานการควบคุมและการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเน็ต (Control / Internet Protocal)
     3.1 มาตรฐานทีซีพี / ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocal/Internet Protocal)
     3.2 มาตรฐานเอชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocal)
     3.3 มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal)
4. โปรแกรมสำหรับติดต่ออินเตอร์เน็ต (Internet Browser Program)
5. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider)



บริการต่างๆ ของอินเตอร์เน็ต
1.) WWW (World Wide Web) คือ บริการข่าวสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีรูปแบบเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ แต่มีข้อดีที่ตัวหนังสือของเว็บเพจสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ ได้ ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้โดยง่าย นอกจากนี้ยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ทั่วโลกอีกด้วย

2.) FTP (File Transfer Protocol) คือ บริการไฟล์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เราสามารถนำรูปภาพ เสียง ฯลฯ มาเก็บที่เครื่องของเราได้โดยผ่านโปรแกรมในการเชื่อมต่อหรือผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็ได้

3.) E-mail (electronic mail) คือ บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถเหมือนกับจดหมายจริงๆ แต่ส่งผ่านหรือรับทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแทน ทำให้เร็วและประหยัดกว่าการส่งจดหมายแบบเดิม

4.) IRC (Internet Relay Chat) เป็นแหล่งพูดคุยกันบนอินเตอร์เน็ต สามารถคุยตอบโต้กันได้ทันที โดยการพิมพ์ข้อความผ่านโปรแกรม เช่น Pirch , ICQ ,Qq-Thai เป็นต้น

5.) Home-page ผู้บริหารสามารถทำ Home-page ของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจได้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง





ความหมายของ Hardware Software Peopleware

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่าง สามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะได้ 4 หน่วย โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน คือ
- หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
- หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
- หน่วยแสดงผล (Output Unit)
- หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)






ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับตามขั้นตอน การทำงานของชุดคำสั่งเหล่านี้ ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อน แล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะอ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม
ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่างๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว กล่าวคือ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น







พีเพิลแวร์ (Peopleware) หมายถึง บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงาน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้

1.) ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2.) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่ และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3.) โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4.) ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป



วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของ Computer

คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนได้ตามคำสั่งของโปรแกรม ขั้นตอนการทำงานจะประกอบไปด้วย การคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไปได้ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังสามารถย้ายข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูล จนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการอีกด้วย



ความหมายของ Data

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร เอกสาร ที่เป็นข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง อาจอยู่ในรูปแบบของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่ผ่านการประมวลผล จึงสามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้



วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และ เสียง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ ตาราง หรือเว็บไซต์ต่างๆ

การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข้อมูล ข่าวสาร หรือ สาีรสนเทศ ระหว่่างผู้รับและผู้ส่ง เช่น โทรศัพท์ อีเมลล์ การส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น