วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษา 21st century

การศึกษาในศตวรรษที่ 21




            ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ 

            ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษาต้องมีการพัฒนา เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือ เพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือเรียกย่อๆ ว่า เครือข่าย P21





             หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิด เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
  • 3R ได้แก่ การอ่าน (Reading) , การเขียน (Writing) , คณิตศาสตร์ (Arithmetic)
  • 4C ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) , การสื่อสาร (Communication) , การร่วมมือ (Collaboration) , ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ (Creativity)
ปัจจัยที่สำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่
          1. Authentic Learning หมายถึง การเรียนรู้จากสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่จริง ไม่ใช่จากหนังสือ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากบริบทหรือสภาพแวดล้อมที่แท้จริง 
          2. Mental Model Building หมายถึง การเรียนรู้เชิงลึก ฝึกความคิดเชิงกระบวนทัศน์
          3. Internal Motivation หมายถึง การเรียนรู้ที่มีแรงผลักดันจากภายในตัวของผู้เรียน หากได้รับการสนับสนุนที่ถูกทาง ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้มากถึงมากที่สุด และเกิดการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงใหม่ๆ
          4. Multiple Intelligence หมายถึง ความฉลาดทางด้านพหุปัญญา ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะมีการเรียนรู้ การรับรู้ที่แตกต่างกันออกไป
          5. Social Learning หมายถึง การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กับสังคม ผู้เรียนจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกัน เกิดการรับพฤติกรรมของผู้อื่นและนำมาปรับใช้กับตนเอง

        ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ 
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย 
   - ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
   - ศิลปะ
   - คณิตศาสตร์
   - การปกครองและหน้าที่พลเมือง
   - เศรษฐศาสตร์
   - วิทยาศาสตร์
   - ภูมิศาสตร์
   - ประวัติศาสตร์


       โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้



ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
         ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
         ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
         ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
         ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
         ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
        ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
        การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
        การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
        ความรู้ด้านสารสนเทศ
        ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
        ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ นการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
        ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
        การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
        ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
        การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
        ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

การศึกษาในศตวรรษที่  21  ครูจะต้องปรับแนวทางการเรียนการสอน (pedagogy) โดยครูจะต้องทำให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีเป้าหมายในการสอนที่จะทำให้เด็กมีทักษะชีวิต  ทักษะการคิด  และทักษะด้านไอที ซึ่งไอทีในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหรือใช้ไอแพดเป็น แต่หมายถึงการที่เด็กรู้ว่า  เมื่อเขาอยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเขาจะไปตามหาข้อมูล (data) เหล่านั้นได้ที่ไหน และเมื่อได้ข้อมูลมาเด็กต้องวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (knowledge) ได้  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากการฝึกฝน ครูจะต้องให้เด็กได้มีโอกาสทดลองด้วยตนเอง



คุณลักษณะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ  3  ประการ
ประการแรก  คือ  มีทักษะที่หลากหลาย  เช่น  สามารถทำงานร่วมกับคนเยอะ  ๆ ได้อย่างรวดเร็ว  รับผิดชอบงานได้ด้วยตนเอง  และรู้จักพลิกแพลงกระบวนการแก้ไขปัญหาได้
ประการที่สอง  คือ มองโลกใบนี้เป็นโลกใบเล็ก ๆ ไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะประเทศไทย  เพื่่อมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย
ประการสุดท้าย  คือ  เด็กไทยยุคใหม่ต้องมีทักษะด้านภาษา เพราะหากพูดหรือใช้แต่ภาษาไทยก็เหมือนกับมี "กะลา"มาครอบไว้


การพัฒนาสมองห้าด้าน
1. สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind)  คือ เป็นคนมีระเบียบวินัยบังคับตัวเองให้เรียนรู้เพื่ออยู่ในพรมแดนความรู้
2. สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) คือ ความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมากลั่นกรองคัดเลือกเอามาเฉพาะส่วนที่สำคัญ
3. สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind) คือ คุณสมบัติสำคัญที่สุดของสมองสร้างสรรค์คือ คิดนอกกรอบ แต่คนเราจะคิดนอกกรอบเก่งได้ต้องเก่งความรู้ในกรอบเสียก่อน ศัตรูสำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์ คือ การเรียนแบบท่องจำ
4. สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) คุณสมบัติด้านเคารพให้เกียรติผู้อื่นมีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คนเคลื่อนไหวเดินทางและสื่อสารได้ง่าย
5. สมองด้านจริยธรรม (ethical mind) ทักษะเชิงนามธรรม เรียนรู้ซึมซับได้โดยการชวนกันสมมติและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันว่าตัวเองเป็นอย่างไรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น